วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

บุคคลสำคัญของโลก


ใครนะที่เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" ?
ต้องเป็นนักปฎิวัติ แบบเชกูวาร่า หรือเปล่า
หรือ ต้องใจบุญ เมตตาแม้กับคนโรคเรื้อน อย่างแม่ชีเทเรซ่า
หรือ ต้องอัจฉริยะค้นพบสมการสำคัญ อย่างไอน์สไตน์
หรือ ต้องต่อสู้กับอยุติธรรม ด้วยสันติ อย่างคานธี
หรือ ต้องมีความสร้างสรรค์ทุกด้าน อย่างดาวินซี
หรือ ต้องเป็นคนแบบไหนกัน...

บางที บุคคลสำคัญของโลก อาจเป็นแค่คนตัวเล็ก ๆ
ที่พูดอ้อแอ้ ฟังไม่รู้เรื่อง อั้นอึ กลั้นฉี่ เองก็ไม่ได้
แล้วก็ร้องไห้จ้า หาแม่ตลอด

ใช่...เด็กทุกคนนี่ล่ะ คือ บุคคลสำคัญของโลก
เพราะพวกเค้า คือ อนาคตสำคัญของวันข้างหน้า

วันนี้ คุณให้เวลากับ "บุคคลสำคัญของโลก" ที่บ้านคุณ
เพียงพอหรือยัง กอดเค้าบ้างหรือเปล่า
เล่าเรื่องดีงาม หล่อเลี้ยงหัวใจเค้า พอมั้ย

อย่าปล่อยให้ บุคคลสำคัญของโลก ที่บ้าน
ต้องเฝ้ารอ...เย็นนี้อย่าเถลไถล รีบกลับไปบอกรัก
บุคคลสำคัญของโลกให้ทัน...ก่อนที่เค้าจะนอน
และ โตเกินกว่าที่คุณจะอุ้มไหว


เจมส์ คุก (27 ตุลาคม ค.ศ. 1728 - 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1779) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอังกฤษ และยังเป็นนักทำแผนที่อีกด้วย เขาได้เดินทางไปยังมหาสมุทรแปซิฟิกสามครั้ง ซึ่งก็ได้ทำแผนที่แนวชายฝั่งไว้ส่วนใหญ่ กัปตัน เจมส์ คุก เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้เข้ามาสำรวจประเทศออสเตรเลีย และยึดออสเตรเลียเป็นอาณานิคมของอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบเกาะฮาวายนอกจากนี้เขายังเป็นผู้คนพบเกาะอีกหลายแห่ง เช่น เกาะนิวซิแลนด์ เป็นต้น
ช่วงต้นของชีวิต
เจมส์ คุกเกิดในตระกูลที่ต่ำต้อย ที่เมืองมาร์ตัน ในนอร์ท ยอร์คเชียร์ ที่ซึ่งขณะที่กลายเป็นเมืองมิดเดิลสโบร คุกเป็นหนึ่งในบุตรห้าคนของนายเจมส์ ซีเนียร์ และนางเกรซ ที่เป็นคนงานอพยพในฟาร์มของสกอตแลนด์ ในวัยเด็ก คุกได้ย้ายถิ่นฐานตามครอบครัวไปที่เมืองเกรท เอย์ตัน และได้รับการศึกษาในโรงเรียนท้องถิ่น โดยที่มีนายจ้างของบิดาเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนการศึกษา เมื่ออายุได้ 13 ปีเขาจึงเริ่มทำงานกับบิดาที่ขณะนั้นเป็นผู้จัดการฟาร์ม
ในปีค.ศ. 1745 เมื่อเขามีอายุได้ 16 ปี คุกได้ออกจากบ้านไปเป็นคนงานฝึกหัดที่ร้านค้าของชำในฮาร์เบอร์แดชเชอร์ หมู่บ้านชาวประมงในสเตรทส์ ด้วยทำเลที่ตั้งของหมู่บ้าน นั่นเป็นที่แรกที่คุกได้รับรู้ถึงสภาพของท้องทะเล จากการมองออกมานอกหน้าต่างร้านค้า


วาสโก ดา กามา (โปรตุเกส: วาชกู ดา กามา - Vasco da Gama ประมาณ พ.ศ. 2003-2068) นักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนิช แคว้นอาเลงเตชู ประเทศโปรตุเกส สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียหว่างปี พ.ศ. 2040-42 โดยแล่นเรือตรงจากกรุงลิสบอน ไปถึงชายฝั่งมะละบาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย โดยแล่นเรืออ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮป ทางตอนใต้ของแอฟริกาซึ่งบาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เป็นผู้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2031
วาสโก ดา กามา ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์มานูเอล ที่ 1 แห่งโปรตุเกสให้ไปค้นหาอินเดียที่เชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นแผ่นดินคริสเตียนที่เล่าลือแพร่หลายเกี่ยวกับ เปรสเตอร์ จอห์น พระคริสเตียนแห่งอินเดียผู้ครอบครองนคร 100 แห่งในโลกตะวันออก รวมทั้งเพื่อการหาลู่ทางเปิดตลาดค้าขายกับโลกตะวันออก
ต่อมา อีกครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2045-2047 วาสโก ดา กามา ได้นำกองเรือมุ่งสู่กาลิกัต (Calicat) เพื่อล้างแค้นจากการที่กลุ่มนักสำรวจชาวโปรตุเกสที่เปดรู อัลวาริช กาบราล (นักสำรวจสำคัญของโปรตุเกส) ปล่อยไว้ที่นั่นถูกฆ่า ในปี พ.ศ. 2067 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดีย แต่ต่อมาไม่นาน วาสโก ดา กามา ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตที่โคชิน (Cochin) และได้รับการนำศพกลับโปรตุเกส

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (อังกฤษ: Ferdinand Magellan), ฟีร์เนา ดี มากาลไยส์ (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (สเปน: Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย
มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบียาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062-2065 ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายูมาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมอริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065[1][2] นำโดยควน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคปเวิร์ดระหว่าง พ.ศ. 2068-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรีนีดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ
ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,[3] "เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก, "ช่องแคบมาเจลลัน" เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซาส่ง

            คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (อังกฤษ: Christopher Columbus ; ละติน: Christophorus Columbus; อิตาลี: Cristoforo Colombo; สเปน: Cristóbal Colón; โปรตุเกส: Cristóvão Colombo) เกิด ค.ศ. 1451 เสียชีวิตวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506 เชื่อว่าน่าจะเป็นชาวเจนัว อิตาลี แต่ก็เป็นไปได้ว่าเขาอาจเกิดที่อื่น ตั้งแต่ จักรวรรดิอาราโกนีส (Aragó) ไปจนถึง อาณาจักรกาลีเซีย (Galicia) โคลัมบัสนั้นเป็นนักสำรวจและพ่อค้า เขาไปติดต่อกษัตริย์อิตาลีเพื่อจะออกเรือไปหาขุมทรัพย์ แต่ไม่สำเร็จ จึงไปขอพบพระเจ้าเฟอร์ดินันด์และพระนางอิซาเบลลาแห่งสเปน เพื่อขอทุนทรัพย์ในการแต่งกองเรือออกไปล่ามหาสมบัติยังดินแดนไกลโพ้น ในปี 1492 เขาได้เดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปถึงทวีปอเมริกา ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1492 ภายใต้ธงชาติของสเปน หรือ เป็นตัวแทนของประเทศสเปนนั่นเอง.
โคลัมบัสมีความเชื่อว่าโลกนั้นมีรูปร่างเป็นทรงกลม และเราสามารถไปถึงตะวันออกไกล (Far East) โดยการเดินเรือไปทางทิศตะวันตก ซึ่งความเชื่อนี้เป็นที่ขัดแย้งกับแนวความเชื่อในยุคนั้นว่าโลกนั้นมีรูปทรงแบน แต่ปัญหาสำคัญที่มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ก็คือ ความเป็นไปได้ของการเดินทางรอบโลก เนื่องมาจากอุปสรรคเรื่องของอาหาร และข้อจำกัดทางเทคโนโลยีการเดินเรือในสมัยนั้น เช่น การเดินเรือไปติดในบริเวณที่ไม่มีลมพัด ถึงแม้ว่าโคลัมบัสนั้นไม่ได้เป็นบุคคลแรกที่เดินทางมาถึงอเมริกา แต่ก็เป็นจุดเริ่มของการติดต่ออย่างถาวรระหว่างโลกใหม่ (ฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก) และ โลกเก่า (ฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติก)
ในสหรัฐอเมริกานั้น มีวันหยุดราชการ 1 วันเพื่อรำลึกถึงโคลัมบัส
โคลัมบัสเป็นบุคคลแรกที่ค้นพบอเมริกา ก่อนอเมริโก เวสปุชชีเสียอีก ตอนนั้นเขากะจะไปที่อินดีสซึ่งปัจจุบันเป็นอินเดีย พอมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เขานึกว่าเกาะแห่งนี้เป็นอินดีส

           
            เลโอนาร์โด ดา วินชี (อิตาลี: Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ. ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น

ประวัติ

เลโอนาร์โด เกิดเมื่อวันที่ 15 เมษายน โดยที่ที่เขาเกิดอยู่ห่างจากหมู่บ้านวินชี ในประเทศอิตาลี ไปราวสองกิโลเมตร บิดาชื่อนายแซร์ ปีเอโร ดา วินชี เป็นเจ้าพนักงานรับรองเอกสารของรัฐ มารดาชื่อคาตารีนา เป็นสาวชาวนา เคยมีคนอ้างว่านางคาตารีนาเป็นทาสสาวจากประเทศแถบตะวันออกในครอบครองของปีเอโร แต่ก็ไม่มีหลักฐานเด่นชัด
ในสมัยนั้นยังไม่มีมาตรฐานการเรียกชื่อและนามสกุลที่เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป ทำให้ชื่อและนามสกุลของดา วินชี ที่แท้จริงคือ เลโอนาร์โด ดิ แซร์ ปีเอโร ดา วินชี ซึ่งหมายความว่า เลโอนาร์โด บุตรชายของปีเอโร แห่ง วินชี แต่เลโอนาร์โดเองก็มักจะลงลายเซ็นในงานของเขาอย่างง่ายๆว่า เลโอนาร์โด หรือไม่ก็ ข้าเอง เลโอนาร์โด เอกสารสำคัญส่วนใหญ่ระบุว่าผลงานของเขาเป็นของ เลโอนาร์โด โดยไม่มี ดา วินชี พ่วงท้าย ทำให้เข้าใจได้ว่าเขาไม่ได้ใช้นามสกุลของบิดาเนื่องจากเป็นบุตรนอกสมรสนั่นเอง

       
          มีเกลันเจโล หรือชื่อเต็มว่า มีเกลันเจโล ดี โลโดวีโก บัวนาร์โรตี ซีโมนี (อิตาลี: Michelangelo di Lodovico Buonarroti Simoni, 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1564) เป็นจิตรกร สถาปนิก และประติมากรชื่อดังชาวอิตาลี
ศิลปินที่เข้าถึง 3 ศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ของโลก เขาไม่เป็นเพียงผู้ที่เข้าถึงแต่เพียงศาสตร์ด้านวิจิตรศิลป์ แต่เขายังเข้าถึงความยิ่งใหญ่ของสถาปัตยกรรม และประติมากรรมอีกด้วย เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 และเติบโตที่เมืองฟลอเรนซ์ ภายหลังเป็นผู้สร้างประติมากรรมหินอ่อนชื่อกระฉ่อนโลกนามว่า เดวิด (David)
หลังจากที่ไปอยู่ที่กรุงโรมเมื่ออายุ 21 ปี และใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นถึง 5 ปี มีเกลันเจโลสร้างประติมากรรมรูปเดวิด ตอนอายุ 26 ปี จากหินอ่อนก้อนมหึมาที่ถูกทิ้งไว้กลางเมืองฟลอเรนซ์เป็นเวลาหลายปี จึงกลายเป็นที่ฮือฮาของชาวเมือง ด้วยเหตุผลที่ว่า ไม่มีใครกล้าพอที่จะแตะต้องมันนั่นเอง ความสำเร็จหลังจากงานชิ้นนี้ ทำให้ชื่อเสียงของเขาโด่งดังไปทั่วอิตาลี มีเกลันเจโลเดิมทีเป็นคนที่เกลียด เลโอนาโด ดาวินชี ถึงแม้ว่าทั้งคู่จะมีอายุห่างกันถึง 23 ปี และไม่ค่อยได้พบกันบ่อยนัก (คล้ายกับ "การที่เสือสองตัวอยู่ในถ้ำเดียวกันไม่ได้") ในช่วงนี้ (ค.ศ. 1497 - ค.ศ. 1500) เขาก็ได้สร้างประติมากรรมหินอ่อนอีกชิ้นหนึ่งที่มีชื่อว่า ปีเอตะ (Pietà) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวิหารเซนต์ปีเตอร์ (St. Peter's Basilica) ที่กรุงโรม
ตอนอายุได้ 30 ปี เขาได้ถูกเชิญให้กลับมาที่กรุงโรม เพื่อออกแบบหลุมฝังศพให้กับ พระสันตะปาปาจูเลียส ที่ 2 ซึ่งใช้เวลาประมาณ 40 ปี หลังจากแก้หลายครั้งหลายครา จนมาสำเร็จในปี ค.ศ. 1545 ต่อมาในปี ค.ศ. 1546 เขาเป็นสถาปนิกคนสำคัญในการสร้างมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ที่กรุงโรม ที่มีความยิ่งใหญ่และงดงามเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลก โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโดม
เขาใช้ชีวิตในบั้นปลายอยู่ในกรุงโรม ตลอด 30 ปี ช่วงนี้นั้นเองที่เขาเขียนภาพระดับโลกไว้มากมาย โดยเฉพาะ The Last Judgement (Last Judgment) ซึ่งเขาใช้เวลาในการเขียนภาพขนาดยักษ์นี้นานถึง 6 ปี
มีเกลันเจโล บัวนาร์โรตี เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ 90 ปี ซึ่งมีคำกล่าวจาก พระสันตะปาปาจูเลียสที่ 2 ว่า "ทรงยินดีบั่นทอนชีวิตของท่านลง เพื่อแลกกับชีวิตของ มิเกลันเจโล ให้ยืนยาวออกไปอีก"


ปาโบล รุยซ์ ปีกัสโซ (สเปน: Pablo Ruiz Picasso) (25 ตุลาคม ค.ศ. 1881-8 เมษายน ค.ศ. 1973) จิตรกรเอกของโลก เป็นบุคคลที่นิตยสาร TIME ยกย่องให้เป็นศิลปินที่มีพรสวรรค์ในการสร้างสรรค์มากที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ปีกัสโซเกิดที่เมืองมาลากา แคว้นอันดาลูเซีย ประเทศสเปน เป็นบุตรชายคนโตของดอนโคเซ รุยซ์ อี บลัสโก (ค.ศ. 1838-1913) กับมารีอา ปีกัสโซ อี โลเปซ บิดาเป็นครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัย เขาฉายแววการเป็นศิลปินระดับโลกด้วยการพูดคำว่า "piz, piz" [มาจากคำว่า "lápiz" (ลาปิซ) ที่แปลว่าดินสอในภาษาสเปน] เป็นคำแรก แทนที่จะพูดคำว่า "แม่" เหมือนเด็กทั่วไป
ปีกัสโซได้รับจานสีและพู่กันเป็นของขวัญวันเกิดตอนอายุ 6 ขวบจากบิดา ครั้งนึงที่บิดาของปีกัสโซกำลังวาดรูปนกพิราบของเขาอยู่นั้น สิ่งที่น่าทึ่งก็ได้บังเกิดขึ้น เมื่อบิดาของเขาออกไปจากห้องเพื่อทำอะไรบางอย่าง ปีกัสโซได้เข้าไปในห้อง แล้ววาดภาพนกพิราบต่อจนเสร็จ เมื่อบิดาเขากลับเข้ามาจึงได้พบว่าภาพที่วาดนั้น เสร็จสมบูรณ์และมีพลังมากกว่าที่ตนเองวาดเสียอีก
ปีกัสโซเริ่มสูบซิการ์ตั้งแต่อายุ 12 ปี จึงอาจเป็นสาเหตที่ทำให้เขามีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ ปีกัสโซเสียชีวิตเมื่ออายุ 91 ปี
ภาพ Garçon à la pipe ในยุค Rose Period
ภาพเขียนของปีกัสโซแบ่งเป็นช่วงต่าง ๆ ได้ ดังนี้
1.               Blue Period 1901-1904 (ยุคสีน้ำเงิน)
2.               Rose Period 1904-1906 (ยุคสีชมพู)
3.               African-Influenced Period
4.               Cubism (บาศกนิยม)
5.               Classicism and surrealism (ยุคคลาสสิกและเหนือจริง)
6.               Later works (ยุคสุดท้าย)
         
              วิลเลียม เชกสเปียร์ (อังกฤษ: William Shakespeare; รับศีล 26 เมษายน ค.ศ. 1564 - 23 เมษายน ค.ศ. 1616[1]) เป็นกวีและนักเขียนบทละครชาวอังกฤษ ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลก  มักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน) งานเขียนของเขาที่ยังหลงเหลืออยู่ถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยบทละคร 38 เรื่อง กวีนิพนธ์แบบซอนเน็ต 154 เรื่อง กวีนิพนธ์อย่างยาว 2 เรื่อง และบทกวีแบบอื่นๆ อีกหลายชุด บทละครของเขาได้รับการแปลออกไปเป็นภาษาต่างๆ มากมาย และเป็นที่นิยมนำมาแสดงมากที่สุดในบรรดาบทละครทั้งหมด[3]
เชกสเปียร์เกิดและเติบโตที่เมืองสแตรทฟอร์ด ริมแม่น้ำเอวอน เมื่ออายุ 18 ปี เขาสมรสกับแอนน์ ฮาธาเวย์ มีบุตรด้วยกัน 3 คนคือ ซูซานนา และฝาแฝด แฮมเน็ตกับจูดิธ ระหว่างช่วงปี ค.ศ. 1585-1592 เขาประสบความสำเร็จในการเป็นนักแสดงในกรุงลอนดอน รวมถึงการเป็นนักเขียน ได้ร่วมเป็นหุ้นส่วนในคณะละครลอร์ดเชมเบอร์เลน (Lord Chamberlain's Men) ซึ่งในภายหลังมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในชื่อ King's Men เชกสเปียร์เกษียณตัวเองกลับไปยังสแตรทฟอร์ดในราวปี ค.ศ. 1613 และเสียชีวิตในอีกสามปีต่อมา ไม่ค่อยมีบันทึกใดเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเชกสเปียร์มากนัก จึงมีทฤษฎีมากมายที่คาดกันไปต่างๆ นานา เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัว ความเชื่อทางศาสนา และแรงบันดาลใจในงานเขียนของเขา[4]
ผลงานที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่ของเชกสเปียร์ประพันธ์ขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1590 ถึง 1613 ในยุคแรกๆ บทละครของเขาจะเป็นแนวชวนหัวและแนวอิงประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแนวทางบทละครที่เป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ต่อมาเขาเขียนบทละครแนวโศกนาฏกรรมหลายเรื่อง รวมถึงเรื่อง แฮมเล็ต King Lear และ แม็คเบธ ซึ่งถือว่าเป็นบทละครตัวอย่างชั้นเลิศของวรรณกรรมอังกฤษ ในช่วงปลายของการทำงาน งานเขียนของเขาจะเป็นแนวสุข-โศกนาฏกรรม (tragicomedies) หรือแนวโรมานซ์ และยังร่วมมือกับนักเขียนบทละครคนอื่นๆ อีกมาก บทละครของเขาตีพิมพ์เผยแพร่ในหลายรูปแบบโดยมีรายละเอียดและเนื้อหาต่างๆ กันตลอดช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ ในปี ค.ศ. 1623 เพื่อนร่วมงานสองคนในคณะละครของเขาได้ตีพิมพ์หนังสือ "First Folio" เป็นการรวบรวมงานเขียนของเขาขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งได้บรรจุบทละครที่ปัจจุบันเชื่อว่าเป็นงานเขียนของเชกสเปียร์เอาไว้ทั้งหมด (ขาดไปเพียง 2 เรื่อง)

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (20 เมษายน ค.ศ. 1889 30 เมษายน ค.ศ. 1945) เป็นนักการเมืองเยอรมนีสัญชาติออสเตรียโดยกำเนิด หัวหน้าพรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ พรรคนาซี ฮิตเลอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ระหว่างปี ค.ศ. 1933 จนถึง 1945 และ "ฟือแรร์" ประมุขแห่งรัฐของนาซีเยอรมนีระหว่างปี ค.ศ. 1934 ถึง 1945 ฮิตเลอร์ถูกจดจำว่ามีบทบาทสำคัญในการรุ่งเรืองของฟาสซิสต์ในทวีปยุโรป สงครามโลกครั้งที่สอง และการล้างชาติโดยนาซี
ฮิตเลอร์เป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่หนึ่งซึ่งได้รับรางวัลหลายรางวัล หลังจากนั้น ฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมพรรคกรรมกรเยอรมัน ซึ่งเป็นพรรคการเมืองก่อนหน้าพรรคนาซี ในปี ค.ศ. 1919 ก่อนที่จะได้เป็นหัวหน้าพรรคนาซีใน ค.ศ. 1921 เขาได้พยายามก่อรัฐประหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า กบฏโรงเบียร์ ในเมืองมิวนิก เมื่อวันที่ 8-9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 แต่ประสบความล้มเหลว ฮิตเลอร์ถูกจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี ซึ่งในระหว่างนั้นเองที่เขาเขียนบันทึกความทรงจำ ไมน์คัมพฟ์ (การต่อสู้ของข้าพเจ้า) หลังจากได้รับการปล่อยตัวเมื่อ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1924 เขาได้รับเสียงสนับสนุนจากการเสนอนโยบายรวมชาวเยอรมัน ต่อต้านชาวยิว ต่อต้านทุนนิยม และต่อต้านคอมมิวนิสต์ โดยการกล่าวสุนทรพจน์อันมีเสน่ห์และการโฆษณาชวนเชื่อ เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสาธารณรัฐไวมาร์เป็นจักรวรรดิไรช์ที่สาม รัฐเผด็จการพรรคการเมืองเดียว ภายใต้แนวคิดนาซีอันมีลักษณะเป็นเผด็จการเบ็ดเสร็จและอัตตาธิปไตย
ฮิตเลอร์ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะจัดระเบียบโลกใหม่ โดยให้นาซีเยอรมนีมีอำนาจครอบงำเหนือยุโรปภาคพื้นทวีป เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว เขาจึงดำเนินนโยบายต่างประเทศซึ่งประกาศเป้าหมายในการครองครองเลอเบนสเราม์ ("พื้นที่อยู่อาศัย") สำหรับชาวอารยัน และได้ระดมทรัพยากรของรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ซึ่งรวมไปถึงการสร้างเสริมกำลังอาวุธขึ้นใหม่ จนกระทั่งลงเอยด้วยการรุกรานโปแลนด์ ใน ค.ศ. 1939 สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสตอบสนองต่อพฤติการณ์ดังกล่าวด้วยการประกาศสงครามต่อเยอรมนี นำไปสู่การปะทุของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป